วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

บริการต่างๆบน อินเทอร์เน็ต Social Network
  1. Identity Network   เผยแพร่ตัวตน
 ใช้สำหรับนำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ทสามารถสร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อน และสร้างเครือข่ายขึ้นมาได้ 
 2. Creative Network  เผยแพร่ผลงาน
     สามารถนำเสนอผลงานของตัวเองได้ในรูปแบบของวีดีโอ ภาพ หรือเสียงเพลง
3. Interested Network    ความสนใจตรงกัน  
    
   del.icio.us เป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking  โดยเป็นการ Bookmark เว็บที่เราสนใจไว้บนอินเทอร์เน็ตสามารถแบ่งปันให้คนอื่นดูได้และยังสามารถบอกความนิยมของเว็บไซด์ต่างๆได้ โดยการดูจากจำนวนตัวเลขที่เว็บไซต์นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ
   Digg  นั้นคล้ายกับ del.icio.us แต่จะมีให้ลงคะแนนแต่ละเว็บไซด์ และมีการ Comment ในแต่ละเรื่อง
   Zickr ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยคนไทย เป็นเว็บลักษณะเดียวกับ Digg แต่เป็นภาษาไทย
 4. Collaboration Network   ร่วมกันทำงาน คือเป็นการร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์หรือส่วนต่างๆของซอฟต์แวร์
   WikiPedia เเป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย
  ปัจจุบันเราสามารถใช้ Google Maps สร้างแผนที่ของตัวเอง หรือจะแบ่งปันแผนที่ให้คนอื่นได้ใช้ด้วย จึงทำให้มีสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ต่างๆ ถูกปักหมุดเอาไว้ พร้อมกับข้อมูลของสถานที่นั้นๆ ไว้แสดงผลจากการค้นหา
 5. Gaming/Virtual Reality  โลกเสมือน



6. Peer to Peer (P2P)
 P2P เป็นการเชื่อมต่อกันระหว่าง Client (เครื่องผู้ใช้, เครื่องลูกข่าย) กับ Client โดยตรง โปรแกรม Skype จึงได้นำหลักการนี้มาใช้เป็นโปรแกรมสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต และก็มี BitTorrent เกิดขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการแบ่งปันไฟล์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว แต่ทว่ามันก็ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์


Webboard
WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web.. WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์ สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก GuestBook ตรงที่ WebBoard จะสามารถแยก หัวข้อต่างๆ ออกเป็นกระทู้ๆ มีความโต้ตอบกันในการสนทนา ในหัวข้อเดียวกันมากกว่า กล่าวได้ว่า WebBoard คือพัฒนาการในรูปแบบใหม่ ของระบบการสนทนาใน BBS (Bulletin Board System) ที่เคยได้รับความนิยม ก่อนที่ระบบเครือข่าย Internet จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น WebBoard ที่พบเห็นกัน มีอยู่หลายรูปแบบ สำหรับโปรแกรม D'Board ที่เปิดให้ใช้บริการนี้ จะเป็น WebBoard ในลักษณะเดียว (รูปแบบคล้าย) กับที่ใช้ใน pantip.com
ประโยชน์
    * เป็นช่องทางในการติดต่อ ประกาศข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
    * ทำให้เกิดสังคม ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ระหว่างกลุ่มผู้เยี่ยมชม
    * ผู้พัฒนาโฮมเพจ สามารถใช้เป็นช่องทางในการ ประกาศข่าวใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น ได้
    * ง่ายในการใช้งาน แม้จะเป็นผู้เริ่มต้น เมื่อเทียบกับการใช้ Mailing list หรือ News Group
ข้อดีของการใช้ D'Board    * ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม CGI script
    * ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม CGI script ใน Server เอง
    * สามารถนำไปใช้ได้ แม้ว่า Server ของคุณจะไม่อนุญาตให้ติดตั้ง CGI script ได้เอง
    * สามารถกำหนดรูปแบบ ของหน้าต่างๆ ของ WebBoard ของคุณได้เอง โดยผ่านระบบการจัดการที่เตรียมไว้ให้
    * สามารถใช้ HTML code แตกหน้าตา หน้าต่างๆของ WebBoard ของคุณได้ (รวมถึง Java และ Javascript ด้วยเช่นกัน)
    * สามารถลบ และแก้ไข ข้อความ ที่มีผู้มาลงไว้ใน WebBoard ได้
    * สามารถใช้งานได้ ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นด้วยเวลาไม่ถึง 3 นาที ในการกรอกแบบฟอร์ม สมัครเป็นสมาชิก คุณก็สามารถ นำ WebBoard ของคุณไปใช้งาน ในโฮมเพจหรือเวปไซต์ ของคุณได้ทันที
    * และอื่นๆ...





msn ( chat )
    ก่อนอื่นขออธิบายสักหน่อยก่อนนะครับ เพื่อความเข้าใจ msn ( chat ) คืออะไร ? อธิบายอย่างง่ายๆ ก็คือ โปรแกรมที่ใช้ในการสนทนา ลักษณะการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากอะไรมากนัก
    วิธีการติดตั้ง msn ( chat ) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
  1. ก่อนอื่นคุณต้องมี Email Address ที่นามสกุล hotmail หรือ msn ก้อด้ายนะ ( ถ้าไม่มีไปสมัครที่ http://www.hotmail.com )
  2. เมื่อสมัครเสร็จแล้ว ให้ login เข้าไปในหน้าสำหรับเช็คเมล์
  3. คลิ๊กที่ Home สังเกตขวามือจะเห็นรูปผีเสื้อตัวโตๆๆ เขียนว่า msn..
  4. ให้คลิ๊กเข้าไป แล้วดาวโหลดโปรแกรม msn ตามขั้นตอน
  5. หลังจากดาวโหลดเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านสังเกตมุมด้านล่างขวามือสุด ท่านจะเห็น ตัวตุ๊กตาสีเขียว มีเครื่องหมายกากบาท….. สีแดง
  6. ให้ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ตัวการ์ตูน
  7. จะขึ้นหน้าจอ MSN Messenger
  8. ให้คลิ๊กที่ "Click here to sign-in"
  9. จะขึ้นกรอบสีน้ำตาล ให้ท่านกรอกรายละเอียด
    Sign-in name…………………ให้กรอก email address ของท่าน
    Password ……………………..ให้กรอก Password ของท่าน
    แล้วคลิ๊ก OK
  10. เครื่องจะทำการ singin เข้าระบบให้ เมื่อเข้าระบบเรียบร้อยแล้ว สังเกตตัวการ์ตูนที่มุมขวาล่างจะไม่มี กากบาท สีแดง แล้ว


ขั้นตอนการหาคนมาคุยด้วย ( คนที่เราต้องการคุยด้วยจะต้องมีโปรแกรม msn ติดตั้งไว้ในเครื่องเช่นเดียวกันนะครับ )
  1. ต่อจากขั้นตอนที่ 10 นะเราจะอยู่ที่หน้า MSN Messenger
  2. มาที่เมนู Tools เลือก Add a Contact คลิ๊ก Next….ใส่ e-mail address ของเพื่อนเราหรือคนที่เราต้องการคุยด้วย
  3. คลิ๊ก Next อีกครั้ง จากนั้นคลิกที่ Finish (((((( เสร็จกระบวนการ )))))))
  4. ***** ในหน้า msn Messenger หลังจาก add คนที่เราต้องการคุยด้วยหรือเพื่อนของเรา เรียบร้อยแล้ว ให้สังเกตที่ชื่อของคนที่เรา add
    - ถ้าเค้าออนไลน์ ตัวการ์ตูนจะเป็น สีเขียว
    - ถ้าเค้าไม่ออนไลน์ ตัวการ์ตูนจะเป็น สีแดง
  5. ถ้าเราเห็นตัวการ์ตูนเป็น สีเขียว ที่ชื่อของเพื่อนเราคนไหน ถ้าเราต้องการคุยด้วยให้ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ตัวการ์ตูนได้เลย
  6. จะมีหน้าต่างอันใหม่ปรากฎขึ้นมา จากนั้นก็เริ่มการสนทนาได้ตามอัธยาศัย
  7. สำหรับเทคนิคและวิธีการอื่นๆ ก็ค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตัวเองไปเรื่อยๆ แล้วกันนะครับ
    ( เราเชื่อว่าคงไม่เกินความสามารถของคุณ...คุณทำได้ )
ประโยชน์
1. คุยปรึกษาหารือ เรื่องงานที่กำลังทำหรือ สอบถามปัญหาเรื่องงานจากผู้เกี่ยวข้อง แต่เดิมเราใช้การโทรศัพท์พูดคุย แต่บางครั้งเราต้องการคุยเป็นการส่วนตัว แบบว่า 2 ต่อ 2 ไม่อยากให้คนอื่นได้ยินเสียงคุย (กลัวคนอื่นว่า ทำไมมันไม่รู้เรื่องนี้ ทำงานมาตั้งนานแล้ว อะไรประมาณนี้ครับ)
2. สามารถสร้างกลุ่มเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างคณะ/หน่วยาน/บุคลากรต่างๆ เช่น นักวิเคราะห์ของคณะต่างๆ มี MSN ต่อไปเมื่อจะประสานงานกันระหว่างคณะใด หน่วยงานใด ก็ไม่ต้องใช้โทรศัพท์ ก็ได้ เพียงแต่การพูดคุยทาง MSN เท่านั้น ก็สะดวกและตรงจุดเหมือนกัน
3. สามารถจัดประชุมแบบ e-meeting กันได้เลย เราสามารถจัดประชุมกลุ่มเล็กๆ ได้ ประมาณ 3-5 คน โดยติดตั้ง Webcam กับไมค์ ก็สามารถประชุมกันได้อย่างมีรสชาด ผ่านทาง MSN นี้เอง ประชุมที่โต๊ะ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องเสียค่าอาหารว่าง
4. การส่งไฟล์แบบไม่จำกัดขนาดของไฟล์ เคยส่งไฟล์ขนาด 1GB พบว่า ไหวครับ สบายมาก จำกัดเฉพาะช่องสัญญาณของการส่งว่าจะมีเพียงพอหรือเปล่า


Youtube
YouTube (ยูทูบ) เป็นเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโอที่มีชื่อเสียง(www.youtube.com) โดยในเว็บไซต์นี้ ผู้ใช้สามารถอัพโหลดภาพวิดีโอเข้าไป เปิดดูภาพวิดีโอที่มีอยู่ และแบ่งภาพวิดีโอ เหล่านี้ให้คนอื่นดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ  ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกกิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) คลิปวิดีโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ YouTube ส่วนมากเป็นไฟล์คลิปสั้นๆ ประมาณ 1 - 10 นาที ถ่ายทำโดยประชาชนทั่วไป แล้วอัพโหลดขึ้นสู่เว็บไซต์ของ YouTube โดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับคลิปเอาไว้ด้วย เช่น ไฟล์ล่าสุด, ไฟล์ที่มีผู้ชมมากที่สุด, ไฟล์ที่ได้รับการโหวตมากที่สุด ฯลฯ
         YouTube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตที่มียอดผู้ชมวิดีโอของทางเว็บไซต์ทะลุหลัก 100 ล้านครั้งต่อวัน หรือคิดเป็นราว 29 เปอร์เซ็นต์ของยอดการเปิดดูคลิปวิดีโอทั้งหมดในสหรัฐฯ ในแต่ละเดือนมีผู้อัพโหลดวิดีโอขึ้นเว็บกว่า 65,000 เรื่อง
          สถิติจาก Nielsen/NetRatings ซึ่งเป็นผู้นำวิจัยการตลาดและสื่่ออินเตอร์ระดับโลกระบุว่า ปัจจุบัน YouTube มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเดือนละ 20 ล้านคน นอกจากนี้ ในปี 2006 นิตยสารไทม์ ยกย่องให้เว็บไซต์ YouTube เว็บไซต์ให้บริการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอชื่อดัง เป็น "Invention of the Year" หรือรางวัลสิ่งประดิษฐ์แห่งปี อีกด้วย
ความเป็นมา
            เว็บไซต์ YouTube ก่อตั้งขึ้นวันที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ 2005  โดยมีอดีตพนักงานของ PayPal สามคนคือ Chad Hurley, Steve Chen และ Jawed Karim เป็นผู้ร่วมกันก่อตั้ง (ปัจจุบัน PayPal ถูก eBay ซึ้อไปแล้ว) แต่ต่อมา Jawed Karim ได้ออกจาก YouTube เพื่อไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Standford  YouTube มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เมืองซานมาทีโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ปัจจุบันมีพนักงานจำนวน 67 คน 
             YouTube เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และได้รับความ สนใจเป็นอันมาก โดยเฉพาะการบอกแบบปากต่อปากที่ทำให้การเติบโตของ YouTube เป็นไปอย่างรวดเร็ว  YouTube มาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายต่อเนื่อง เมื่อมีการนำภาพวิดีโอช่วง Lazy Sunday ของรายการ Saturday Night Live มาแสดงบนเว็บ ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2006ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี (NBC) ก็ได้เรียกร้องให้ทาง YouTube เอาคลิปวิดีโอที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหลายออกจากเว็บ ซึ่ง YouTube เองก็มีนโยบายที่จะไม่เอาคลิปที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาแสดงเช่นกัน นั่นทำให้ต่อมา You Tube กำหนดนโยบายที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามกรณีพิพาทกับสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีก็ได้ทำให้ YouTube เป็นข่าวและเพิ่มความดังมากขึ้นไปอีก
             ต่อมา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2006   google ได้ตกลงตัดสินใจเข้าซื้อ YouTube ด้วยมูลค่า 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนหุ้น อย่างไรก็ตาม YouTube ก็ยังคงดำเนินกิจกรรม ของบริษัทไปตามปกติ โดยเป็นอิสระจากการควบคุมของ google  การรวมกันของสองบริษัทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสบการณ์ที่ดีขึ้นและเข้าใจได้มากขึ้น สำหรับผู้ใช้ที่สนใจในการอัพโหลด การดูวิดีโอ และการแชร์ภาพวิดีโอ รวมถึงการนำเสนอโอกาสใหม่ๆ สำหรับผู้เป็นเจ้าของ ข้อมูล (content) ที่เป็นมืออาชีพที่จะนำเสนองานของพวกเขาไปสู่คนวงกว้าง 


วิธีการใช้งาน youtube คลิกเข้าไปเลย


วิธี การ ใช้ ประโยชน์ สูงสุด จาก บัญชี ของ YouTube
Youtube เป็น เครือ ข่าย วิดีโอ ที่ ใช้ กัน อย่าง แพร่หลาย มาก ที่สุด ใน เว็บ. ทุก คน สามารถ ดู วิดีโอ จาก ทั่ว โลก และ ผู้ ใช้ สามารถ อัพโหลด วิดีโอ ของ ตัว เอง ได้ ฟรี ใน ช่อง ทาง ธุรกิจ ของ ตนเอง. ถ้า คุณ อ่าน ข้อความ นี้ โอกาส ที่ คุณ รู้จัก นี้ และ คุณ พร้อม ที่ จะ หา สิ่ง ที่ คุณ ไม่ ทราบ แต่ จะ ทำ เช่น โพ ส ต์ วิดีโอ นาน กว่า 11 นาที. สิ่ง ที่ มากหน้าหลายตา ไม่ ทราบ ว่า เป็น ที่ พวก เขา สามารถ ทำ สิ่ง อื่น ๆ ใน Youtube เช่น ตรวจ สอบ ความ นิยม ทั่ว โลก เขา ทำ รายการ เพลง และ ควบคุม ผู้ ใช้ สามารถ ดู วิดีโอ. ไป ด้าน บน และ เหนือ สามัญ โดย ประโยชน์ คุณสมบัติ ที่ ดี เยี่ยม Youtube มี ให้.


นี่ คือ สิ่ง ที่ คุณ ต้องการ:
บัญชี YouTube (มัน ฟรี คุณ ทราบ!)
1. ไป ที่ ช่อง ของ คุณ ดึง ลง เมนู ภาย ใต้ ชื่อ ผู้ ใช้ ของ คุณ ที่ มุม ขวา ด้าน บน ถัด mail และ สัญลักษณ์ TV. คลิก ที่ "มาก ขึ้น..." และ คุณ จะ มี บัญชี ภาพ รวม.
2. ที่ นี่ คุณ สามารถ ป้อน ความ สนใจ ของ คุณ อัป โหลด ภาพ โปรไฟล์ (แน่ใจ ว่า พอ มัน เล็ก) และ ตรวจ สอบ ว่า คุณ เป็น ที่ นิยม ใน ส่วน ต่างๆ ของ โลก ใน ช่วง เวลา. นี้ สามารถ พบ ได้ ผ่าน เข้าใจ "แท็ บ". ไป ที่ "ปรับ แต่งหน้า แรก" และ ทำ เครื่องหมาย ใน ช่อง ของ โปรแกรม ที่ คุณ ต้องการ. จะ มี บาง กราฟ แสดง จำนวน การ ดู ช่วง ไม่ กี่ เดือน ที่ ผ่าน มา และ ใน ประเทศ ที่ ดู พวก เขา.
3. ถ้า คุณ ต้องการ โพ ส ต์ วิดีโอ อีก ต่อ ไป คุณ จะ ต้อง บัญชี ผู้ อำนวย การ. มี หลาย ประเภท บัญชี อื่น เป็น. คุณ เริ่ม เป็น แต่ มี คน อื่น ๆ เช่น นัก ดนตรี ผู้ นำ ศาสนา ฮินดู ฯลฯ จุด นี้ คือ การ กำหนด ตัว เอง นอกเหนือ จาก ฝูง โดย การ ทำให้ ตัว เอง ใน YouTube เพิ่มเติม "พิเศษ." ชี้ เมาส์ ไป ที่ "บัญชี ของ ฉัน" ใน มุม ซ้าย ด้าน บนใน "บัญชี รวม หน้า". คลิก ที่ "My Channel.
4. ที่ นี่ คุณ สามารถ เพิ่ม ชื่อ ใน ช่อง ทาง ของ คุณ เพิ่ม คำ สำคัญ เพื่อ ให้ ง่าย ขึ้น เพื่อ ค้นหา และ คุณ สามารถ "ประเภท ช่อง ทาง แก้ไข" ที่ ด้าน ล่าง. (ฉัน คิด Youtube ทำให้ คุณสมบัติ พิเศษ หา ยาก เพื่อ ป้องกัน ไม่ ให้ คน จำนวน มาก เกินไป จาก การ อัป โหลด วิดีโอ อีก ต่อ ไป นี้.) จำ ไว้ ว่า ถ้า คุณ ต้องการ อัป โหลด วิดีโอ อีก เลือก "Director."

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับ search engine


ความรู้เกี่ยวกับ search engine
        ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและต่างประเทศ
    ความหมาย/ประเภทของ Search Engine การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เบ็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Seaech Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา (หรือกดปุ่ม Enter) เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทัน
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของSearch Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ
ประเภทของsearch engine
  1. Keyword Index   เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
     
  2. Subject Directories   การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
     
  3. Metasearch Engines   จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
     
      ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการของเรา
วิธีการค้นหาข้อมูลโดยใช้ Search Engine


การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ?   มี 2 วิธีครับ
1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directoryวิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธี Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลในIndex ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง

2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
          วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Index ลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไปจากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา
หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine
สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้

      1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ

      2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง

      3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)

      4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site

การค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine

      1. เปิดเว็บไซด์ที่ให้บริการ
      2. ใส่คำ (keyword) ที่คุณต้องการจะค้นหาลงไปในช่องยาวๆ (text box) ที่มีสร้างเอาไว้ให้
      3. คลิ๊กที่ปุ่ม ค้นหา (กรณีเลือก Search Engine ที่อื่นอาจจะไม่ได้ใช้คำนี้ก็ได้ แล้วแต่ที่คุณเลือก



           โปรแกรมจะเริ่มค้นหาคำนั้นๆให้ ตอนนี้คุณก็รอสักพักนึงก่อน จากนั้นรายชื่อของเว็บเพจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ระบุจะถูกแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบนิดหน่อย ให้เราอ่านเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่ามันเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เราต้องการหรือเปล่า ส่วนใหญ่ข้อมูลที่พบมีมากจนเกินกว่าที่จะแสดงให้เห็นหมดในหน้าเดียว มันจะมีตัวแบ่งหน้าให้เราทางด้าน ล่างสำหรับเลือกไปดูรายละเอียดส่วนอื่นๆที่เหลือในหน้าถัดๆไป แต่โดยมากแล้วข้อมูลที่ใกล้เคียง กับคำที่เราต้องการมากที่สุดจะอยู่ในช่วงต้นๆ ของรายการแรกที่ SearchEngine นั้นๆตรวจพบ
         นอกจากการค้นหาข้อมูลแล้ว Search Engine บางที่ ยังสามารถค้นหา รูปภาพ ได้อีกด้วยครับการค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจิงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด

ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser
         การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บเพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ คือ

      1. ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit
      2. แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find (on  This Page) หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้
      3. จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next
          โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ
          ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ

ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine
          คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา
ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึงกันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , googleเป็นต้น
ประเภทของsearch engine
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines

 คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน โดยมีองค์ประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
          1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
          2. ซอฟแวร์ คือ เครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็กๆ ทำหน้าที่ในการตรวจหา และทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม  Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots เช่น
www.google.com



ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
        คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้สามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมากๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลือง ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ตัวอย่างเช่น

    1. ODP หรือ Dmoz ที่หลาย ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยด้วย (URL : http://www.dmoz.org )
     2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย(URL : http://webindex.sanook.com )



ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
        คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษาHTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเองและอีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร